วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553 สพป.กาฬสินธุ์ 3













โดย...พรเพ็ญ ฤทธิลัน : ศึกษานิเทศก์
ผลการทดสอบทางการศึกษาชั้นพื้นฐานระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนในสังกัด สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดสอบระดับประเทศ พบว่า 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ต่ำกว่า
ระดับประเทศ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่มีคะแนนต่ำที่สุด ได้แก่ ภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 23.72) กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนสูงที่สุด ได้แก่ สุขศึกษาพลศึกษา (ร้อยละ 55.27) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากที่สุด คือ สาระศิลปะ (22.87)
ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดสอบ ระดับประเทศ พบว่า เกือบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ ยกเว้นกลุ่มสาระการ เรียนรู้ศิลปะ (28.67) กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุดคือ สุขศึกษา (71.30)และสาระภาษาอังกฤษต่ำที่สุด (16.13) เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ร้อยละ 5 ของ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่.6 มี 2 สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (+16.82) และสาระวิทยาศาสตร์ (+5.69) เท่านั้นที่สูงกว่าเป้าหมายนอกนั้นต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2552 พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มได้แก่ สังคมฯ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และการงานฯ โดยเฉพาะสังคมเพิ่มมากที่สุด (+16.82) ส่วนสาระภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสุขศึกษา ต่ำกว่า ปีการศึกษา 2552 โดยเฉพาะสาระภาษาไทยลดลงมากที่สุด (-6.18) ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ .3 เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายปีการศึกษา 2553 ที่ตั้งไว้ร้อยละ 5 ของ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 พบว่า มีสาระภาษาไทย (+9.20) สุขศึกษาพลศึกษา (+17.38) และการงานอาชีพและเทคโนโลยี (+15.18) ที่สูงกว่าเป้าหมาย ส่วนสาระที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ สังคมศึกษาฯ (+1.92) คณิตศาสตร์ (+0.52) วิทยาศาสตร์ (+1.81) สาระภาษาอังกฤษ (-2.17) และศิลปะ (-2.18) เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2552 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่ต่ำกว่าผลการทดสอบใน ปีการศึกษา 2552 ได้แก่ สาระภาษาอังกฤษ (-2.17) และศิลปะ (-2.18) ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สาระภาษาไทย (+9.20) สุขศึกษาพลศึกษา (+17.38) และการงานอาชีพและเทคโนโลยี (+15.18) สังคมศึกษาฯ (+1.92) คณิตศาสตร์ (+0.52) และวิทยาศาสตร์ (+1.81)
เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกจากผลการทดสอบฯ พบจุดอ่อนเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายได้รับรู้รับทราบและเข้าใจได้อย่างเหมาะสม เช่นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาษาไทย : หลักการใช้ภาษา การวิเคราะห์และนำไปใช้, คณิตศาสตร์ : ทักษะและกระบวนการ วิทย์ : สารและคุณสมบัติของสาร, การแปลความหมายจากแผนภาพ - กราฟ สังคมศึกษาฯ : เศรษฐศาสตร์, สุขศึกษาพลศึกษา : การเสริมสร้างสุขภาพ, ศิลปะ:นาฏศิลป์, การงานฯ : เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน และภาษาอังกฤษ : การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นต้น ยังมีอีกหลายประเด็นที่ผู้เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารทั้งหลาย ต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ เช่น มาตรฐานที่ควรปรับปรุง จะปรับหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอน สื่อนวัตกรรมอย่างไร กำหนดตัวชี้วัดอย่างไร ข้อสอบข้อไหนบ้าง รูปแบบข้อสอบแบบใดบ้างที่นักเรียนต้องฝึกฝน เหล่านี้เป็นฐานคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของเราเพิ่มสูงขึ้นทุกสาระการเรียนรู้..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น