วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จุดเน้น...การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน



จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
เพื่อการขับเคลื่อนหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
สรุปโดย............ศน.พรเพ็ญ ฤทธิลัน



ทักษะและความสามารถ (หน้า 3-9)
ป.1-3 อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

ป.4-6 อ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

ม.1-3 ทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะชีวิต การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี รักการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

ม.4-6 ทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะชีวิต การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี รักการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

คุณลักษณะ

มีความมุ่งมั่น รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต

มีวินัย รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้

มีจิตสาธารณะ ใฝ่ดี
บทบาทกระทรวงศึกษาธิการ

1.ประกาศจุดเน้นกับการพัฒนาผู้เรียน 2.ให้นโยบายกับทุกหน่วยงาน

3.ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการดำเนินการอย่างมีรูปธรรม 4.ประชาสัมพันธ์ผลักดันอย่างต่อเนื่อง

5.กำกับติดตามเป็นระยะ


บทบาทสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.จัดทำคำอธิบายระดับความสามารถของผู้เรียนตามจุดเน้น

2.สร้างความรู้ความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.จัดทำสื่อฯ กระตุ้น/ผลักดัน ให้เกิดการปฏิรูประดับห้องเรียน

4.กำกับติดตามและประเมินผล


บทบาทสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

1.จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศผู้เรียนรายบุคคล/รายโรงเรียน

2.จัดทำ/ส่งเสริมให้มีแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นระดับเขตพื้นที่/โรงเรียน

3.ออกแบบระบบส่งเสริมสนับสนุนและประกันคุณภาพที่จะช่วยสถานศึกษาให้ดำเนินการตามจุดเน้น

4. แผนนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลที่คล่องตัวต่อเนื่อง


บทบาทสถานศึกษา

1.จัดทำฐานข้อมูลผู้เรียน โรงเรียนตามจุดเน้น

2.ศึกษาบริบทใน/นอกโรงเรียนเพื่อจัดทำแหล่งเรียนรู้(สถานที่/บุคคล)

3.ปรับ/ออกแบบตารางเรียน จัดการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น

4.ให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

5.จัดทำรายงานความก้าวหน้าของผู้เรียนตามจุดเน้น

(หน้า30)


ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จ

ระดับโรงเรียนของจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (หน้า 30-32)


ระยะที่ 1 เริ่มต้นค้นวิเคราะห์ (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553)

1) มีข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลครบถ้วนพร้อมใช้

2) มีแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นที่ชัดเจนปฏิบัติได้

3) มีฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเพียงพอ

4) มีตารางที่ยืดหยุ่นตามจุดเน้น

5) มีกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนโดยมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเวลาเรียน

6) มีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายครอบคลุมตามจุดเน้น

ระยะที่ 2 บ่มเพาะประสบการณ์ (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554)


1) ผู้เรียนได้สำรวจสืบค้นทำโครงงาน โครงการจากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

2) ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างคุ้มค่า

3) จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

4) ชุมชนเข้าใจ ร่วมมือ สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้

5) ครูพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้/สื่อ อย่างมีประสิทธิภาพ

6) มีการนำผลการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ระยะที่ 3 สานต่อองค์ความรู้ (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554)

1) มีการนำผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน

2) มีผลการวิจัยและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

3) มีรายงานผลความก้าวหน้าในการพัฒนาผู้เรียน

4) มีการสร้างเครือข่าย / แลกเปลี่ยนเรียนรู้


ระยะที่ 4 นำสู่วิถีคุณภาพ (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555)

1) มีนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น

2) มีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามจุดเน้น

3) มีเครื่องมือ / ประเมินผลการพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพ

4) มีการเผยแพร่การวิจัยและผลการพัฒนาผู้เรียน


ระยะที่ 5 มีนวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555)

1) ผู้เรียนเรียนรู้อย่าง มีความสุข มีความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะตามจุดเน้น

2) มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่

3) ครูเป็นครูมืออาชีพ

4) โรงเรียนมีการจัดการความรู้

5) มีเครือข่ายร่วมพัฒนาที่เข้มแข็ง

6) สาธารณชนยอมรับ และมีความพึงพอใจ

อ้างอิงจาก..... ROADMAP จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อขับเคลื่อนหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด กรุงเทพมหานคร 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น