วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบบูรณาการเพื่อให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้และคิดเป็น

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบบูรณาการเพื่อให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้และคิดเป็น

พรเพ็ญ  ฤทธิลัน
ศึกษานิเทศก์ สพป.กส.3
นักศึกษาปริญญาเอก  สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม


การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวม จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบหรือวิธีการที่หลากหลาย เน้นการจัดการเรียน การสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และมีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยประเมินจากการปฏิบัติ (Performance Assessment) และประเมินตาม


สภาพจริง (Authentic Assessment) เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้และคิดเป็น

การสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการสอนหลายวิธี จัดกิจกรรมต่าง ๆ ในการสอนเนื้อหาสาระที่เชื่อมโยงกัน ตลอดจนมีการฝึกทักษะต่าง ๆ ที่หลากหลาย การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่างๆ ของรายวิชาเดียวกัน หรือจากหลายรายวิชามาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ มาใช้ในชีวิตจริงได้

อ่านออก การที่ผู้อ่านรู้จักพยัญชนะ สระและเครื่องหมายต่างๆ สามารถอ่านออกเสียงออกมาเป็นคำได้อย่างถูกต้อง

เขียนได้ หมายถึง ความสามารถในการเขียน และทำความ เข้าใจกับข้อความง่ายๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีความหมายครอบคลุมถึงทักษะในการเขียน

คิดเลขเป็น หมายถึง มีวิธีการคิดได้หลายรูปแบบ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

ครูผู้สอน จึงควรมีวิธีการหรือแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อให้เกิดทักษะการอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น โดยเฉพาะในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรแกนกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (Road Map) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรนำกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น
ทำไมต้องจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ


1. สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้น จะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ในสาขาต่างๆ ผสมผสานกัน ซึ่งทำให้ผู้เรียนที่เรียนรู้เพียงศาสตร์เดี่ยวๆ ไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยหลายๆ ศาสตร์ได้

2. เป็นการเชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้ (transfer of learning) ของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนและสามารถนำไปใช้ได้จริง

3. ช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆ ในหลักสูตร จึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างลงได้ แล้วไปเพิ่มเวลาให้เนื้อหาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

4. วิชาการหรือแนวคิดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย

5. ตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆ ด้านของผู้เรียน ช่วยสร้างความรู้ ทักษะ และเจตคติ

6. นักเรียนจะเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง



ลักษณะของการบูรณาการ

การบูรณาการมีหลายลักษณะ หลายแนวความคิด แต่ละลักษณะเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการได้เป็นอย่างดี ในบางครั้งครูอาจบูรณาการหลายลักษณะเข้าด้วยกัน สุดแล้วแต่ความคิดของครูแต่ละคนและความเหมาะสมเป็นเรื่องๆ ไป สำหรับการบูรณาการ ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการเรียนการสอนทางด้านวิชาชีพ มีดังนี้

1. การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ เป็นการบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ ผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อหาสาระหรือองค์ความรู้ในลักษณะ

ของการหลอมรวมกัน เนื้อหาสาระที่นำมารวมกันจะมีลักษณะคล้ายกัน สัมพันธ์กัน หรือต่อเนื่องกัน แล้วเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงการบูรณาการเนื้อหาสาระรายวิชาสามัญเข้ากับเนื้อหาสาระทางด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้องหรือที่ศึกษา

2. การบูรณาการเชิงวิธีการ การบูรณาการเชิงวิธีการเป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เข้าในการสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีสอนหลาย ๆ วิธี ใช้สื่อการเรียนการสอนแบบสื่อประสมใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติอย่างสัมพันธ์กันให้มากที่สุด เช่น ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย ครูสามารถบูรณาการเชิงวิธีการด้วยการใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ ได้หลายวิธี ได้แก่ การสนทนา การอภิปราย การใช้คำถาม การบรรยาย การค้นคว้าและการทำงานกลุ่ม การไปศึกษานอกห้องเรียน และการนำเสนอข้อมูล เป็นต้น

3. การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้ในอดีต ครูมักเป็นผู้บอกหรือให้ความรู้แก่นักเรียนโดยตรง นักเรียนเป็นฝ่ายรับสิ่งที่ครูหยิบยื่นให้ แล้วแต่ความสามารถของนักเรียนว่าใครจะตักตวงได้เท่าไรและจะเหลือเก็บไว้ได้เท่าไร แต่ในปัจจุบันมีแนวความคิดเปลี่ยนไป จากการเน้นที่องค์ความรู้มาเป็นเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนพัฒนาวิธีการแสวงหาความรู้และการได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่ต้องการ และกระบวนการเรียนรู้จะเป็นสิ่งที่ตกตะกอนติดตัวนักเรียนไว้ใช้ได้ตลอดไป เพราะสังคมสมัยใหม่ มีสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้มากมาย มีปัญหาที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ครูไม่สามารถตามไปสอนได้ทุกที่ หรือนักเรียนไม่สามารถมาถามครูได้ทุกเรื่องนักเรียนจึงจำเป็นที่ต้องแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยมีกระบวนการการเรียนรู้ที่มีขั้นตอนอยู่ในใจ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ เช่น ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครูอาจแนะนำให้นักเรียนใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด ในการให้ได้มาซึ่งความรู้ในเรื่องที่ต้องการ เป็นต้น

4. การบูรณาการความรู้ ความคิด กับคุณธรรม ในสภาพการจัดการเรียนการสอนตามความเป็นจริงส่วนใหญ่ จุดประสงค์มักเน้นไปที่ด้านพุทธิพิสัยมากกว่าด้านจิตพิสัย บุคคลใดที่จะได้รับคำชมว่าเก่งต้องเด่นในด้านความรู้ซึ่งเป็นค่านิยมมาแต่เดิม โดยหลักการแล้วควรให้ความสำคัญแก่ความรู้และคุณธรรมเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนโดยบูรณาการความรู้ ความคิด และคุณธรรมเข้าด้วยกัน อาจเป็นการสอนเนื้อหาสาระโดยใช้วิธีการต่าง ๆ และใช้เทคนิคการสอดแทรกคุณธรรมเข้าไปโดยที่นักเรียนไม่รู้ตัว จนกระทั่งเกิดความซึมซาบเป็นธรรมชาติ เช่น การสอนเรื่องสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพ ทั้งของตนเองและผู้อื่นเท่านั้น เพราะจะทำให้นักเรียนคิดแต่สิ่งที่ตนพึงจะได้รับ หรือพึงมีตามกฎหมาย แต่นักเรียนจะขาดคุณลักษณะในด้านคุณธรรม ดังนั้น ครูจึงควรสอนสอดแทรกคุณธรรมด้านต่าง ๆ เช่น ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความเอื้ออาทร การช่วยเหลือกัน ความเมตตากรุณา หรือการตรงต่อเวลา ตามความเหมาะสม เพื่อนักเรียนจะได้เป็น “ผู้มีความรู้คู่คุณธรรม”

5. การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการปฏิบัติ เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะเมื่อเวลาผ่านไป อาจลืมความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้นั้นได้ แต่ถ้าความรู้นั้นเชื่อมโยงไปกับการปฏิบัติจะทำให้ความรู้นั้นติดตัวไปได้ยาวนาน ไม่ลืมง่าย เช่น การเรียนรู้เรื่องพวงมาลัยและวิธีการร้อยพวงมาลัยแบบต่าง ๆ โอกาสในการใช้พวงมาลัย วัสดุอุปกรณ์ในการร้อยพวงมาลัย ซึ่งหากเป็น การสอนแค่ความรู้ขณะเรียน นักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจได้ แต่จะไม่คงทน เพราะอาจลืมในเวลาต่อมา แต่ถ้าครูสอนให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติการร้อยพวงมาลัยแต่ละแบบประกอบไปด้วย จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นไม่ลืมง่าย และขณะฝึกปฏิบัตินักเรียนอาจพบปัญหาต่าง ๆ นักเรียนก็จะสามารถคิดและใช้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาได้ด้วย

6. การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน ในการจัดการเรียนการสอน ‘ความรู้’ เป็นสิ่งที่ผู้สอนทุกคนปรารถนาให้เกิดขึ้นภายในตัวนักเรียน แต่ความรู้นั้น ไม่ควรเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนเกิดความแปลกแยกกับชีวิตจริง เพราะจะทำให้นักเรียนไม่เห็นคุณค่า ไม่มีความหมาย และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ แก่ตัวนักเรียน ดังนั้น สิ่งที่ครูสอนหรือให้นักเรียนเรียนรู้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา ควรเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับชีวิตของนักเรียน และเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือนักเรียนในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณลักษณะของนักเรียน จะทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าและความหมายของสิ่งที่เรียน อีกทั้งเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดความต้องการในการเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น การสอนเรื่องอาหาร การป้องกันโรคติดต่อ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้เมื่อเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว ครูควรเชื่อมโยงให้นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตของเขา



การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ เป็นการนำวิชาหรือสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างหัวข้อเรื่องที่มีความสอดคล้องกับวิชานั้น ๆ เข้าด้วยกัน ผู้สอนต้องคำนึงสิ่งต่อไปนี้

1. การเลือกหัวเรื่อง จากประเด็นต่างๆ ที่ต้องการเรียน เช่น ประเด็นแนวคิด ประเด็นของเนื้อหา เมื่อได้แล้วนำจุดประสงค์ของการสอนอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของนักเรียน เข้ามาสร้างเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

2. การนำจุดประสงค์ที่ต้องการให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น ที่สัมพันธ์กันมาสร้างเป็นหัวข้อเรื่องและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

ดังนั้น หลังจากที่ครูผู้สอน ได้จัดลำดับเนื้อหาสาระภายในหัวข้อเรื่องและวางแผนจัดกิจกรรม บูรณาการทุกหัวข้อเรื่องแล้ว จึงวางแผนเขียนแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้นี้เป็นที่รวมขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญ ในการออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบว่าจะสอนหัวข้อใดระดับชั้นใด มีจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างไร มีวิธีการจัดกิจกรรมอย่างไรบ้าง รวมทั้งใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน และ มีวิธีการวัดและประเมินผลอย่างไร

  เทคนิควิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบบูรณาการ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการมีเทคนิควิธีการจัดการและประเมินผลหลากหลายวิธี ครูผู้สอนสามารถเลือกวิธีใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาหรือรูปแบบการบูรณาการ และเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นแบบผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ เน้นการฝึกปฏิบัติตามกระบวนการ เพื่อให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้และคิดเป็น รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลผู้สอนจึงต้องเลือกใช้ให้หลากหลาย และดำเนินการควบคู่กันไปในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลที่ต้องการวัดและประเมินผลผู้เรียน ให้ได้ครบถ้วนทุกด้านให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบบูรณาการ ได้แก่ การสังเกต การบันทึกประจำวัน การตอบปากเปล่า การอ่านออกเสียง การเขียนตามคำบอก การเขียนเรื่องจากภาพ การเขียนคำตอบหรือความเรียง การแก้โจทย์ปัญหา การประเมินตนเองหรือกลุ่ม การสัมภาษณ์ การใช้แฟ้มสะสมงาน การทำโครงงาน การใช้คะแนนแบบรูบิค (Scoring Rubrics) หรือเกณฑ์คุณภาพ การใช้แบบทดสอบ เป็นต้น



แหล่งอ้างอิง



ประพนธ์ จุนทวิเทศ. http://www.bpcd.net/new_subject/ general/Articles/06.pdf

ประสงค์ เมธีพินิตกุล. “การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการบูรณาการภาษาไทย และคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนขนาดเล็ก,” วิชาการ. 13 (1). มกราคม – มีนาคม 2553.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพ ฯ. บุ๊ค พอยท์. 2546.

http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=22.0

http://www.edu.buu.ac.th/journal/.../Link_Jounal%20edu_14_1.pdf

http://www.gmcities.com/board/index.php?topic=784.0

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/thai04/07/reading_2.html



วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โครงการ Classroom Action Research...

การพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียน  (CAR) สำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต  3







รวมบทคัดย่อ ครูผู้วิจัยคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

นางสุชัญญา  เยื้องกลาง  ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนบ้านโจดนาตาล
รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบ


ของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์

เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75

2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโจดนาตาล ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ

แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที (t-test dependent)

ผลการศึกษา พบว่า

1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 85.55/78.52 แสดงว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.71 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ คิดเป็นร้อยละ 71

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.42

นายทวีศักดิ์ ไร่บูลย์
ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านเหล่าสีแก้ว

การพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง เส้นขนาน

รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง เส้นขนาน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที (t-test dependent)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเหล่าสีแก้ว ตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 20 คน

ผลการศึกษา พบว่า

1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 83.20 / 87.00 แสดงว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.67 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน คิดเป็นร้อยละ 67.00

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


นางวิไลลักษณ์ ศรีแก้ว
ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนชุมชนหนองยางวิทยาคม
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  จำนวนนับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  โรงเรียนชุมชนหนองยางวิทยาคม
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ โรงเรียนชุมชนหนองยางวิทยาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบฝึกทักษะ เรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ เรื่อง จำนวนนับ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง จำนวนนับ ที่สร้างขึ้น

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนชุมชนหนองยางวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 11 คน ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบฝึกทักษะ เรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก

จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ดัชนีประสิทธิผลและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 82.18/78.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่สร้างขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลความก้าวหน้าทางการเรียน เท่ากับ 0.5955 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.5955 หรือคิดเป็นร้อยละ 59.55

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่สร้างขึ้น โดยส่วนรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


 
นางเยาวลักษณ์ ศิริรักษ์  ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนหนองจระเข้เรืองศิลป์
การพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองจระเข้เรืองศิลป์ ตำบลจุมจัง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและ การแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ t-test แบบ dependent samples


ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 80.37/79.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและ
การแก้สมการ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.57

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

นางจิตรา รุ่งนามา
ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนชุมชนหมูม่นฯวิทยาสรรพ์
รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่อง  แบบรูปและความสัมพันธ์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่   
รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนหมูม่นวิทยาสรรพ์ ตำบล หมูม่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที (t-test dependent)


ผลการศึกษา พบว่า

1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 80.19/82.96 แสดงว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.5799 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 57.99

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง แบบรูปและความสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.60




นางมาลัยวรรณ ศึกขยาด
ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเหล่าไฮงามวิทยาสูง
รายงานการพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง  การบวก  การลบเศษส่วน  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
การพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่ส่งเสริมให้มีการปรับวิธีสอน นำเทคนิคการเรียนรู้ต่าง ๆ ไปใช้ในการสอนให้เหมาะสม กับวัยของนักเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด และคำนึงถึงความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเหล่าไฮงามวิทยาสูง อำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.21 – 0.71 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test (Dependent)


ผลการศึกษาปรากฏดังนี้

1. การพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.12/84.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75

2. นักเรียนที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7018 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ 70.18

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ที่สร้างขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด ( = 4.81 , S.D. = 0.47)

โดยสรุป การพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม ช่วยให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ดังนั้นควรนำแบบฝึกเสริมทักษะไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


นางวันเพ็ญ ศรีหลิ่ง  ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 35 (คำกั้ง)
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 35 (คำกั้ง) 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 35 (คำกั้ง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่

1) แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน เวลา 10 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.33 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนก 0.30 - 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88

4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าอำนาจจำแนก 0.38 - 0.85 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon Signed Rank Test ) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการศึกษา พบว่า

1. แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ
(E1/E2) เท่ากับ 78.8/76.67

2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.5078 หมายความว่า แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.5078 หรือ คิดเป็นร้อยละ 50.78

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 35 (คำกั้ง) ที่เรียนโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 35 (คำกั้ง) มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า

มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เป็นแบบฝึกเสริมทักษะที่ดีมาก เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ( = 4.67) โจทย์ปัญหามีภาพประกอบทำให้เกิดจินตนาการ ( = 4.63) แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทำให้ เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน และสามารถแก้โจทย์ปัญหา หาคำตอบได้สามารถตรวจคำตอบ และตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบได้ ( = 4.61) ตามลำดับ




นางสาวทัศนีย์ อนันตภูมิ
ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านโนนเที่ยง
รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่อง  จำนวนเต็ม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโนนเที่ยง ตำบลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที (t-test dependent)


ผลการศึกษา พบว่า

1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 81.78/79.72 แสดงว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.66 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 66

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01



นายอิสรพล ปิ่นขจร

ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนคำเมยราษฎร์พัฒนา
รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคำเมยราษฎร์พัฒนา ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที (t-test dependent)


ผลการศึกษา พบว่า

1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 88.10/82.00 แสดงว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสมบัติของจำนวนนับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.6967 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสมบัติของจำนวนนับ คิดเป็นร้อยละ 69.67

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องสมบัติของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ .25

โดยสรุป การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนได้


นายสุรศักดิ์ ไชยทองศรี


ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านโนนค้อ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะเรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะเรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น สองตัวแปร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนค้อ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน นักเรียน 36 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการศึกษาพบว่า

1. แบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 79.64/82.50  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.64 หรือร้อยละ 64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ของค่าดัชนีประสิทธิผล คือ 0.64 หรือร้อยละ 64 นั่นคือผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 64 หลังจากเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ

3. คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น สองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( =2.70)

โดยสรุปการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ และมีดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งนักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากจึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ในระดับช่วงชั้นอื่นๆ ต่อไป


การพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียน (CAR) สำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


โครงการ การพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research : CAR) สำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสวาส บุญอาษา, นางพรเพ็ญ ฤทธิลัน



งบประมาณ ได้รับจัดสรรจาก สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 40,000 บาท

กิจกรรมตามโครงการ

1. ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2. ประชุมสัมมนาครูผู้วิจัย ซึ่งเป็นครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน (ผู้วิจัยสมัครเข้าร่วมโครงการ) โดยให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะ กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน (CAR) (เอกสารประกอบการอบรม)

3. นิเทศ กำกับ ติดตามฯ ครูผู้วิจัย ทั้ง 10 คน โดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบ Coaching (นายสวาส บุญอาษา, นางพรเพ็ญ ฤทธิลัน, นายสายันต์ วิชัยโย และนางสาวจิณัฐตา วรรณเกษม)

4. ครูผู้วิจัยนำเสนอผลงานการวิจัย เพื่อวิพากษ์และประเมินผลงานวิจัย

5. ครูผู้วิจัยนำเสนอผลงานวิจัย Symposium ณ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 (22 สิงหาคม 2555)

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

Talking English 2 ; By ....ศน.พรเพ็ญ



ลองนำประโยคสั้นๆ ไปใช้คุยกันวันละประโยค 2 ประโยค ดูนะคะ ........นึกไม่ออกก็พูดไทยได้เลย.....แต่พยายาม Speak English บ่อยๆ หน่อยก็ดี .... (ไม่ต้องกลัวพูดผิด ให้กล้าที่จะพูดแค่นั้นพอ)...Let's go....






การกล่าวขอบคุณ
การกล่าวขอบคุณ เมื่อต้องการกล่าวขอบคุณจะใช้ประโยคดังต่อไปนี้- Thank you very much for your help.( แธงค์กิ่ว เวรี มัช ฟอร์ ยัวร์ เฮว )ขอบคุณมากสำหรับการช่วยเหลือ- That’s very kind of you.( แดทส เวริ คาย อ๊อฟยู )ขอบคุณที่กรุณา- Thanks a lot .( แธงส อะลอทท์ )ขอบคุณมาก






สำหรับการพูดตอบรับการขอบคุณ
สำหรับการพูดตอบรับการขอบคุณ อาจใช้สำนวนต่อไปนี้- You’re welcome( ยัวร์อะ เวลคัม )ด้วยความยินดี- My pleasure( มาย พลีสเชอร์ )ด้วยความยินดี- Don’t mention it( โด้นท เม้นชั่น อิท )( ไม่เป็นไร )- Not at all( น๊อทแธท ออล )ไม่เป็นไร- Any time( เอ นิ ทาม )ยินดีเสมอตัวอย่างบทสนทนาTim : Thank you very much for the gift.ทิม : ( แธงค์ กิ่ว เวริ มัช ฟอเ ธอะ กิฟท์ )ขอบคุณมากสำหรับของขวัญSuda : Don’t mention itสุดา : ( โด้นท เม้นชั่น อิท )ไม่เป็นไรVipa : That’s very kind of you .Thanks.( แดทส เวริ คาย อ๊อฟ ยู แธงค์ )Suda : It’s my pleasure.( อิส มาย พลีสเชอร์ )






คำทักทาย ก่อนจากกัน ( Leave Taking ) - See you later ( again ก็ได้ )( ซี ยู เลเท่อร์ ( อะเกน ก็ได้) แล้วเจอกันอีกนะคะ- See you tomorrow. หรือ See you next time.( ซี ยู ทูมอโร่ หรือ ซี ยู เน็คสท์ ไทม์ )พบกันพรุ่งนี้ หรือ พบกันโอกาสหน้า นะคะ- Goodbye หรือ bye.( กึดบาย หรือ บาย ) ลาก่อน ใช้ตอนกลางวัน- So long( โซ ลองก์ )ลาก่อน ใช้กับคนสนิทกัน- Good night.( กึด ไน่ท์ )ลาก่อนใช้ตอนกลางคืน - See you.(ซี ยู )แล้วเจอกันนะ - Take care.( เท็ค แคร์ )รักษาสุขภาพนะ






การกล่าวขอโทษเมื่อขัดจังหวะ เพื่อสอบถามเรื่องอื่น ๆ
การกล่าวขอโทษเมื่อขัดจังหวะ เพื่อสอบถามเรื่องอื่น ๆ จะใช้- Excuse me( อิคคิวส มี )ขอโทษครับ หรืออาจจะพูดว่า- I beg your pardon.( ไอ เบค ยัวร์ พาเดิ้น )ขอโทษครับ ตัวอย่างเช่น- Excuse me, is this the way to the railway station ?( อิคสคิวส มี อีส ดีท เธอะ เวย์ ทู เดอะ เรลเวย์ สเตชั่น )ขอโทษครับนี่คือทางไปสถานีรถไฟใช่ไหม ตัวอย่างบทสนทนาA : I’m sorry I broke your vase.( อาม ซอริ ไอ โบรค ยัวร์ เวส )ฉันขอโทษด้วย ฉันทำแจกันแตกB: That’s all right.( แดทซอล ไรท์ )ไม่เป็นไรA: Will you please forgive me for not coming to your party last night ?( วิล ยู พลีล ฟอร์กีฟ มี ฟอร์ น๊อต คัมมิ่ง ทู ยัวร์ พาร์ติ ลาส ไนท์ )ขอโทษครับที่ไม่ได้ไปงานเลี้ยงของคุณเมื่อคืนนี้






การกล่าวขอโทษ การกล่าวขอโทษ เมื่อต้องการกล่าวขอโทษในสิ่งที่กระทำลงไปอย่างไม่ตั้งใจ จะใช้สำนวนต่อไปนี้- I must apologize for …………( ไอ มัส อะพอลโลไจซ ฟอร์ )ฉันต้องขอโทษสำหรับ..........- Please accept my apologies( พลีส แอ็คเซ็พท์ มาย อะพอลโลจีส์ )กรูณายกโทษให้ฉันด้วย- Please forgive me for………( พลีส ฟอร์กีฟ มี ฟอร์............... )กรุณายกโทษให้ฉันด้วยสำหรับ....................................- I’m really sorry.( อาม เรลลิ ซอริ )ฉันขอโทษจริงๆ- Sorry ! ( ซอริ )ขอโทษ






การกล่าวคำขอโทษ (Apologizing) โดยใช้คำว่า "Excuse me" ประโยคพูดอังกฤษเพื่อกล่าวคำขอโทษ โดยใช้คำว่า Excuse me มีดังนี้Excuse me. May I use your telephone?เอคซคิวส์ มี. เม ไอ ยูส ยัวร์ เทเลโฟน?ขอโทษครับ ผมขอใช้โทรศัพท์คุณหน่อยได้ไหมครับ-------------------------------Excuse me. Could you tell me the way to the car park?เอคซคิวส์ มี. คูด ยู เทล มี เดอะ เวย์ ทู เดอะ คาร์ พาร์ค?ขอโทษครับ ช่วยบอกผมหน่อยได้ไหมครับว่า ที่จอดรถไปทางไหนครับ-------------------------------Excuse me. Is there a post office near here?เอคซคิวส์ มี. อิซ แดร์ อะ โพสท์ ออฟฟิซ เนียร์ เฮียร์?ขอโทษครับ แถวนี้มีไปรษณีย์ไหมครับ-------------------------------Excuse me. May I sit here?เอคซคิวส์ มี. เม ไอ ซิท เฮียร์?ขอโทษครับ ผมนั่งตรงนี้ได้ไหมครับ-------------------------------Excuse me for a mement.เอคซคิวส์ มี ฟอร์ อะ โมเมนท์.ขอโทษครับ ขอตัวสักครู่ครับ






การกล่าวชมเชย
เมื่อต้องการกล่าวชมเชย จะใช้สำนวนต่อไปนี้- I like your hair. ( ไอ ไลท์ ยัวร์ แฮร์ ) ฉันชอบทรงผมของ - I really like your hair.(ไอ เรียวลิ่ ไลท์ ยัวร์ แฮร์ )ฉันชอบทรงผมของคุณจริง ๆ- What a nice dress !( วอท อะ ไน้ส เดรส )ชุดช่างสวยจริง ๆ- You look wonderful.( ยู ลุคค์ วันเดอร์ฟุล )คุณดูดีอย่างน่าพิศวงจัง- That’s a lovely shirt.( แธทส์ สะลัฟลิ เชิ๊ตท์ )เสื้อเชิ๊ตนั่นน่ารักจัง






การตอบรับการกล่าวชมเชย อาจพูดได้ดังนี้- Thank you very much.( แธงค์กิ่ว เวริ มัช )ขอบคุณมาก- It’s kind of you to say so.( อิทส คาย อ๊อฟ ยู ทู เซ โซ )ไม่มีคำแปลตรง ๆ เหมือนกับขอบคุณแล้วแต่ว่าชมเรื่องอะไรตัวอย่างบทสนทนาตัวอย่างที่ 1A : I really like your sweater .(ไอ รีอัลลิ่ ไลท์ ยัวร์ สเว็ทเทอร์ )ฉันชอบเสื้อกันหนาวของคุณจังB : Thanks.( แธงส์ )ขอบคุณตัวอย่างที่ 2A : This soup tastes good.( ธิส ซุป เทส กึด ) ซุปนี้รสชาติอร่อยจังB: I made it myself.( ไอ เมด อิท ไมเซ็ลท์ )ฉันทำด้วยตัวฉันเองA: You’re a wonderful cook .( ยัวร์ อะ วันเดอฟุล คุ๊ก)คุณช่างเป็นแม่ครัวที่เลิศจริง ๆB: It’s kind of you to say so.(อิทส์คาย อ๊อฟ ยู ทู เซ โซ ) ขอบคุณที่ชอบ






การเชิญ ( Inviting )
- Would you like to go to dinner tonight ?( วุ้ด ยู ไล้ท์ ทู โก ทู ดิ้นเน่อร์ ทูไน้ท์ )ดิฉันขอเชิญคุณมารับประทานอาหารค่ำ คืนนี้ค่ะ.- How about going……..?(ฮาว อะเบ้าท์ โกอิ่ง ……)อยากเชิญคุณ ....... .- Would you like to go…….?(วุ้ด ยู ไล้ท์ ทู โก ….. )อยากเชิญคุณ ........ .- Will you be able to go……?(วิล ยู บี เอ้เบิ่ล ทู โก…..)อยากเชิญคุณ …… .- Would you care for a drink ?(วุ้ด ยู แคร์ ฟอร์ อะ ดริ้ง )ดื่มอะไรไหมค่ะตัวอย่างบทสนทนาA : Can you have lunch with me tomorrow ?(แคน ยู แฮฟ ลั้นช วิช มี ทูมอโร่ )ตอนเที่ยงพรุ่งนี้ทานอาหารด้วยกันไหมคะB : Yes , I will be glad to. Where ?( เยส ไอ วิล บี แกลด ทู, แวร์ )ยินดีค่ะ ที่ไหนค่ะ ?A : How about having it at my house?( ฮาว อะเบ้าท์ แฮพหวิ่ง อิ่ท แอทท์ มาย เฮาซ์ )ที่บ้านดิฉันดีไหมค่ะ ?B : Yes, that will be just great . What time?( เย้ส, แธ็ท วิล บี จัสท์ เกรท. ว้อทไทม์?)เหมาะค่ะ กี่โมงดีคะ.หรือ พูดว่า “ Wonderful “ ( วั้นเดอร์ฟุล ) หรือ Great (เกรท) ก็ได้หรือ พูดว่า Fine. Thanks for asking.(ไฟน์ แธ็งส์ ฟอร์ อาสกิ่ง)สะดวกค่ะ ขอบคุณที่เชิญA : Hope you can come.(โฮพ ยู แคนน์ คัม )หวังว่าคงมาได้นะB : I won’ t miss.(ไอ โว้นท์ มิส )ฉันจะไม่ยอมพลาดแน่









Talking English บทสนทนาในชีวิตประจำวัน




By... ศน.พรเพ็ญ ฤทธิลัน


การทักทายหรือสวัสดีในภาษาไทย (Greeting) เมื่อเราพบกันจะมีการทักทายพูดคุย เริ่มต้นด้วยประโยคเหล่านี้ทุกครั้ง ซึ่งมีดังต่อไปนี้-



Good morning( กึด มอร์หนิ่ง )คำทักทายตอนเช้าถึงเที่ยง-



Good afternoon( กึด อ่าฟเทอร์นูน)คำทักทายตอนหลังเที่ยงถึงก่อนพลบค่ำหรือเย็น-



Good evening( กึด อีฟเว็นหนิ่ง )คำทักทายตอนเย็นหรือพลบค่ำ-



Hello ! (เฮลโล่) หรือ Hullo ! (ฮัลโล่) หรือ Hi ! (ไฮ)ใช้กล่าวสวัสดีทั่วไปไม่จำกัดเวลา สามารถเอ่ยชื่อบุคคลตามหลังคำกล่าวสวัสดีเหล่านี้ได้เช่น Hi, Jenny.



และมักสนทนาต่อด้วยประโยคต่อดังนี้- How do you do ?( ฮาว ดู ยู ดู )สบายดีหรือ ใช้เมื่อพบกันครั้งแรกในชีวิต พูดตอบคำเดิม คือ How do you do ?พบกันครั้งต่อไปให้ทักว่า- How are you ?( ฮาว อาร์ ยู )สบายดีหรือ .ใช้ในโอกาสทั่วไป



คำตอบ คือ I' m fine หรือ well หรือ quite well .(ไอแอมไฟน์หรืออามไฟน์ หรือ เวล ไคว้ เวล )สบายดี-



Not well.(น้อท เวล)ไม่ค่อยสบาย



- I have a head ache.( ไอ แฮฟว์ อะ เฮ้ด เอ่ค )รู้สึกปวดศีรษะ



- I have the flu.ไอ แฮฟว์ .เธอะ ฟลู )ไข้หวัดใหญ่



- Not so well, thanks. I ( have ) got a cold. หรือ I have a cold.( น้อท โซ เวล, แธ้งส์ . ไอ แฮบว์ ก้อทอ ะ โคลด์ หรือ ไอ แฮบว์อะ โคล )ไม่สบายค่ะ เป็นหวัด



- I have a stomach ache.(ไอ แฮฟว์ สทั่มมัค เอ้ค )ดิฉันปวดท้องหรือกระเพาะอาหาร



- I have a tooth ache( ไอ แฮฟว์ ทูธ เอ้ค )ดิฉันปวดฟัน



- My gums are sore.. ( มายกัมส์ อาร์ ซอร์ )ดิฉันปวดเหงือก



- Where are you going ?( แวร์ อาร์ ยู โก๊อิ่ง )จะไปไหนคะ



- To the market( ทู เธอะ ม้าร์เก็ตท )ไปตลาดค่ะ






- Pom, this is Thong and Thong, this is Pom.(ป้อม ธิส อีส ต๋อง แอน ต๋อง ธิส อิส ป้อม)เป็นการแนะนำให้บุคคล 2 คนรู้จักกัน คือ ป้อม, นี่ต๋องนะคะ แล้ว ต๋อง,นี่ป้อมค่ะทั้งป้อมและต๋องทักทายกันและกันว่า



“ ดีใจ ( ยินดี ) ที่รู้จัก .... .” ดังนี้ คือ- Glad to meet you( แกลด ทู มีท ยู่ )ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ



- How nice ( wonderful ) to ( see) meet you.( ฮาวไนส์ หรือวันเคอฟุล ทู (ซี) หรือ มีท ยู่ยินดีที่ได้รู้จักคุณ



- Pleased to see you.( พลีสท์ ทู ซียู่ )ยินดีที่ได้รู้จักคุณ



- Pleased to meet you.(พลีส ทู มีท ยู)ยินดีที่ได้รู้จักคุณ

English Speaking Year 2012


ในปี2558 นี้ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หลายคนคงสงสัยว่าแล้วการศึกษาบ้านเรา มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง


ล่าสุด กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จะประกาศให้ปี2555 เป็นปีของการส่งเสริมการสื่อสารภาษาอังกฤษ และได้ริเริ่มโครงการ English Speaking Year 2012 เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารให้มากขึ้น โดยกำหนดให้สถานศึกษาในทุกระดับทุกระบบในสังกัด ใน1สัปดาห์ จะต้องมี1วัน ที่ครูและนักเรียน นักศึกษา ได้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันโดยใช้ภาษาอังกฤษ เช่น จัดมุมภาษาอังกฤษ การฝึกนักเรียนเป็นมัคคุเทศก์ โดยจะทยอยดำเนินการในโรงเรียนที่มีความพร้อมก่อนแล้วจึงขยายไปเรื่อยๆ และจะพยายามสร้างแรงจูงใจให้กับโรงเรียน เช่น หากโรงเรียนใดสามารถดำเนินการได้สัมฤทธิ์ผล ก็อาจจะมีรางวัลโดยให้ทุนไปศึกษาดูงานในประเทศอาเซียน เป็นต้นนอกจากนี้จะจัดอบรมครูทั่วประเทศให้มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งในการสื่อสาร และการเรียนการสอน โดยจะดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ ร่วมกับสถานทูต องค์กรต่างประเทศ หรือตัวแทนจากสถาบันภาษาเข้าร่วม เช่น AUA, British Councilนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เราจะได้เห็นการศึกษาไทยพัฒนาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมรับมือเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้



หลังจากที่ ศธ.ได้เปิดตัวโครงการ “พ.ศ. 2555 ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ (English Speaking Year 2012)” ไป แล้วนั้น เพื่อทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ในทางปฏิบัติ ศธ.จะดำเนินการขอร้องแกมบังคับให้สถานศึกษา และสถานที่ราชการในสังกัด ศธ. รวมทั้ง ศธ.เอง พูดภาษาอังกฤษในวันจันทร์ของทุกสัปดาห์แต่เนื่องจากสัปดาห์แรกในวันทำการของปี 2555 เป็นวันพุธ ดังนั้นในวันที่ 4 ม.ค.55 จะเป็นวันแรกที่ใช้การสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นจะให้ปฏิบัติในทุกวันจันทร์






credit : blog.eduzones.com/anisada/86854