วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม : Behavioral Objectives วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หมายถึง วัตถุประสงค์ของการสอนที่กำหนดเป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้ชัดเจนว่า นักเรียนต้องแสดงพฤติกรรมอะไรได้บ้าง จึงจะถือว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น สอนการบวกเลขระดับประถมศึกษา ครูอาจกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมว่า เมื่อจบบทเรียนแล้วนักเรียนต้องทำแบบฝึกหัดการบวกเลขได้ถูกต้อง 5 ข้อ เป็นต้น วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สมบูรณ์ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1. พฤติกรรมที่ชัดเจนหรือพฤติกรรมที่คาดหวังว่านักเรียนต้องทำได้ เมื่อนักเรียนเกิดการเรียนรู้ (พฤติกรรมที่สังเกตได้ชัดเจน) ส่วนใหญ่มักกำหนดเป็นคำกริยา 2. สถานการณ์หรือเงื่อนไขในการแสดงพฤติกรรม หมายถึงพฤติกรรมที่กำหนดไว้นั้น จะแสดงออกในสถานการณ์หรือเงื่อนไขใด 3. เกณฑ์ในการตัดสินหรือยอมรับว่าพฤติกรรมนั้นว่าถึงระดับเกิดการเรียนรู้แล้ว ตัวอย่างของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เช่น
- นักเรียนแต่งโคลงสี่สุภาพจากหัวข้อที่กำหนดให้ได้ถูกต้องในเวลา 10 นาที
แต่ง คือพฤติกรรมที่สังเกตได้ชัดเจน - หัวข้อที่กำหนด คือสถานการณ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดให้แสดงพฤติกรรม และ 10 นาที คือเกณฑ์การตัดสินพฤติกรรมว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น