รู้จัก ....อาเซียน....ASEAN..... เรียบเรียงโดย ศน.พรเพ็ญ ฤทธิลัน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN)
สำหรับ ASEAN กับ Asian จะออกเสียงคล้ายกัน แต่ความหมายต่างกัน Asian หมายถึง ชนชาติในทวีปเอเชียทั้งหมด ส่วน ASEAN หมายถึง ชาติในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ
อาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สัญลักษณ์ของอาเซียน
คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ และความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
อาเซียนมีความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรมครอบคลุมทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เยาวชน และได้มีการพัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ในพ.ศ. 2546 ผู้นำประเทศอาเซียนได้เห็นชอบร่วมกันจัดตั้ง “ประชาคม สังคม อาเซียน” ซึ่งมีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในเสาหลัก เพื่อให้การพัฒนาการร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นไปโดยมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และอาเซียนได้ตั้งเป้าหมายเป็นประชาคมสังคมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) ในปีพ.ศ. 2558 ทุกประเทศจะเปิดประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว คือ อาเซียนเป็นตลาดหนึ่งเดียวหนึ่งประชาคม (ASEAN’s one-market, one-community) โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คือ ประเทศสมาชิกจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา การเสริมสร้างความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีความเป็นอยู่ดีกินดีและมีฐานะทางสังคมที่ทัดเทียมกัน
*** พร้อมหรือยังคะ...กับการก้าวเข้าสู่ทางเดิน ASEAN.... ***วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สัญลักษณ์ของอาเซียน
คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ และความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
อาเซียนมีความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรมครอบคลุมทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เยาวชน และได้มีการพัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ในพ.ศ. 2546 ผู้นำประเทศอาเซียนได้เห็นชอบร่วมกันจัดตั้ง “ประชาคม สังคม อาเซียน” ซึ่งมีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในเสาหลัก เพื่อให้การพัฒนาการร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นไปโดยมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และอาเซียนได้ตั้งเป้าหมายเป็นประชาคมสังคมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) ในปีพ.ศ. 2558 ทุกประเทศจะเปิดประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว คือ อาเซียนเป็นตลาดหนึ่งเดียวหนึ่งประชาคม (ASEAN’s one-market, one-community) โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คือ ประเทศสมาชิกจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา การเสริมสร้างความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีความเป็นอยู่ดีกินดีและมีฐานะทางสังคมที่ทัดเทียมกัน
Bibliography
กรมประชาสัมพันธ์. สำนักนายกรัฐมนตรี. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : เปเปอร์เฮาส์, 2552.
ปรีช่ หมั่นคง. "รู้ทันอาเซียน", วิชาการ. 14(1) มกราคม - มีนาคม, 2554.
http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1324
http://app.tisi.go.th/mra/history.html
กรมประชาสัมพันธ์. สำนักนายกรัฐมนตรี. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : เปเปอร์เฮาส์, 2552.
ปรีช่ หมั่นคง. "รู้ทันอาเซียน", วิชาการ. 14(1) มกราคม - มีนาคม, 2554.
http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1324
http://app.tisi.go.th/mra/history.html